กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผลักดันธุรกิจขนาดเล็กใช้ระบบไอทีบริหารกิจการ

     บริษัท ดับเบิล เอ็ม เทคโนโลยี แมเนจเม้นท์ จำกัด ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  ใน”โครงการบริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร” (total Solution for SMEs)  โดยสนับสนุนธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท และยอดขายไม่เกิน 5 ล้านได้ใช้ระบบไอทีในการบริหารกิจการ โดยสามารถนำระบบ Double M Samakkee 1 Cloud ไปใช้ระยะ 12 เดือน จำนวน 1 ผู้ใช้งาน (ไม่รวมค่าอบรมการใช้งาน)

Double M Samakkee 1 Cloud

  • เหมาะกับธุรกิจทุกอุตสาหกรรม
  • รองรับการขายหน้าร้าน โดยใช้ระบบ P.O.S.
  • รองรับการขายส่ง และขายต่างประเทศ
  • รองรับขยายสาขา ไม่จำกัด ทำงานผ่านออนไลน์
  • ดูยอดขายและสินค้าเหลือผ่านมือถือหรือผ่าน
  • ระบบคลังสินค้าที่รองรับสินค้าที่หมดอายุได้ พร้อมรายงานสต๊อคการ์ด
  • ระบบบันทึกรายรับและรายจ่าย พร้อมภาษีซื้อ ภาษีขาย
  • รายงานงบกำไร-ขาดทุนตามสาขา พร้อมปิดงบ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Call : 0-20433697 / 0840884638
Line : @doublem
Facebook : doublemtech

ทุนสนับสนุนการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลสูงสุดจำนวน 10,000 บาท* เพื่อยกระดับการบริหารจัดการของ SMEs ไทย “depa ช่วย SMEs ไทย ประยุกต์ใช้ดิจิทัล”

Depa ใจดีแจก Voucher สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้บริการ ของทางบริษัทเรา
กลุ่มเป้าหมาย SMEs :

  • ธุรกิจเกษตรและอาหาร (โรงสี โรงงานแปรรูป)
  • ธุรกิจร้านค้าบริการ (ร้านอาหาร ธุรกิจบริการ)
  • ธุรกิจร้านค้าปลีก – ค้าส่ง (ร้านขายของชำ)
  • ธุรกิจท่องเที่ยว (โรงแรม ที่พัก เช่ารถ ขนส่ง)

* ระยะเวลาโครงการ : ตลอดปี 2562
* จำนวนทุนสนับสนุน : 2,200 ทุน ทั่วประเทศ

รายละเอียดโครงการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.depa.or.th/th/SMEdigitalcoupon
ติดต่อสอบถาม 084-088-4638 คุณอภิรักษ์

ดีป้าใจป้ำ มอบของขวัญปีใหม่ให้SMEรายเล็กซื้อ Software รับส่วนลดสูงสุด 10,000 บาทต่อราย พร้อมรับสิทธิลดหย่อนภาษี 200 %

            ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวว่า ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบหมายให้ดีป้าจัดเตรียมมอบของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย เพื่อส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ดิจิทัลในองค์กรเพื่อยกระดับธุรกิจและก้าวทันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลยุค Thailand 4.0 โดยดีป้ารับลูกสนับสนุนเอสเอ็มอีใช้ดิจิทัล ภายใต้ 2 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการคูปองอุดหนุนเพื่อการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม หรือ depa mini-Transformation Voucher และ 2. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ SME ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนด้านภาษี 200% โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกับกรมสรรพากร
            สำหรับโครงการคูปองอุดหนุนฯ เป็นโครงการที่มุ่งการผลักดันให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงการใช้ Digital Platform ที่จะสามารถช่วยสร้างข้อมูลการตัดสินใจ สร้างความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการให้กับธุรกิจ ทั้งในด้านการขายและการบริหารจัดการต่าง ๆ อาทิ ระบบการขยาย (Point of Sale: POS) ระบบจัดการคลังสินค้า ระบบขนส่ง ระบบบัญชี ระบบ CRM ระบบบริหารงานบุคคล เป็นต้น โดยเป็นการสนับสนุนเงินให้เปล่าในการซื้อและใช้บริการซอฟต์แวร์และดิจิทัลจากผู้ให้บริการในโครงการฯ จำนวน 100% แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม) จำกัดสิทธิ 1 SME ต่อ 1 ทุน
            “ในปี 2562 นี้ depa ได้ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) หอการค้าจังหวัดชลบุรี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ด สมาคมการค้าซอฟต์แวร์และธุรกิจนวัตกรรมภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ และหน่วยงานในภูมิภาค ส่งเสริมให้ SME ในกลุ่มร้านค้าปลีกค้าส่ง กลุ่มธุรกิจบริการ กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว และกลุ่มธุรกิจการเกษตร เข้าถึงเครื่องมือดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำธุรกิจให้ดีขึ้น และมีข้อมูลในการดำเนินธุรกิจเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมาย 2,200 ราย ทั่วประเทศ คาดหวังสร้างโอกาสในการทำธุรกิจ ลดต้นทุนการบริหารจัดการ และเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างเท่าทัน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการและขั้นตอนการขอรับการสนับสนุน depa mini-Transformation Voucher ได้ที่ www.depa.or.th/smedigitalcoupon” ดร.ณัฐพลกล่าว
            ส่วนมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนด้านภาษี 200% นั้น ดร.ณัฐพล กล่าวว่า หากผู้ประกอบการ SME รายใด ใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่มาจากผู้ผลิตและผู้ให้บริการ ที่ได้รับการประกาศเป็นผู้ให้บริการภายใต้มาตรการภาษี 200% ก็สามารถใช้สิทธินำส่วนต่างของค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้ 200% ภายใต้มาตรการที่ทางดีป้า ร่วมดำเนินการกับกรมสรรพากร ได้อีกด้วย โดยเป็นการลดหย่อนภาษี 100% สำหรับผู้ประกอบการ SME รายเล็ก โดยภาษีที่หักต้องอยู่ในหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยคำว่าลดภาษี 200% คือหัก 100% เป็นค่าใช้จ่าย และหักค่าเสื่อมได้อีก 3 ปี รวมเป็น 200 ตรวจสอบรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตและให้บริการมาตรการภาษี 200% และขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนได้ที่ http://www.depa.or.th/th/tax200
สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

     คุณวรัชญ์ชนันท์ เพชรณรงค์ (แอน)
     ส่วนประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
     สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
     โทรศัพท์ 094 545 5054
     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]

สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย มอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ต จำกัด

          เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(The Association of Thai Software Industry : ATSI) ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ต จำกัด เพื่อแสดงว่า บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ต ได้พัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ไทย กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต

กรมสรรพากร ประกาศ เพิ่มสิทธิประโยชน์การลดหย่อนสำหรับคนมีบุตร

                    นางหัสกาญจน์ ภิงคารวัฒน์ เลขานุการกรม ในฐานะ รองโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 46) กำหนดสิทธิประโยชน์การลดหย่อนสำหรับบุตรตั้งแต่คนที่ 2 ให้มีผลบังคับ สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2561 ที่จะต้องยื่นรายการในปี 2562 สำหรับบุตร ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้หักลดหย่อน ได้คนละ 30,000 บาท และสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดในหรือหลังปี 2561 ให้หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาทต่อคน โดยในการนับลำดับบุตร ให้นับลำดับของบุตรทุกคนไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม”

                    มาตรการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีดังกล่าวเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีบุตรมากขึ้น จากปัจจุบัน คนไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลง ทำให้มีประชากรวัยแรงงานลดลงและอัตราส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีเงินได้มีบุตรมากกว่าหนึ่งคน อันจะส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศ มีความเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

                    สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161 และหากพบเห็น การกระทำใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ขอให้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ www.rd.go.th > เมนู “การแจ้ง แหล่งภาษี” เพื่อที่กรมสรรพากรจะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป

กรมสรรพากรจับมือกับสำนักงาน คปภ. เชื่อมโยงข้อมูลการลดหย่อนภาษีเพื่ออำนวยความสะดวก ให้ผู้ทำประกันสุขภาพ

                        วันนี้ (4 ตุลาคม 2561) ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เป็นประธาน การประชุมร่วมกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อประชาสัมพันธ์มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ณ ห้องพระอุเทน 1 ชั้น 2 อาคารกรมสรรพากร

                        ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “กรมสรรพากรมีนโยบายจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทำงานในทุกกระบวนการ (Digital Transformation) อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษี พร้อมไปกับ “การสร้างบริการที่ดีของกรมสรรพากรให้แก่ผู้เสียภาษี”ในการเชื่อมโยงข้อมูลการลดหย่อนภาษีจากหน่วยงานภายนอก เช่น ข้อมูลเงินปันผล ข้อมูลเงินบริจาค ข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพ เป็นต้น เพื่อลดภาระของผู้เสียภาษีในการจัดเก็บเอกสารหลักฐานการลดหย่อนภาษีและเป็นการยกระดับความร่วมมือของหน่วยงานภายนอกและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ และในระยะเปลี่ยนผ่าน กรมสรรพากรอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ตและมีภาษีที่ขอคืน สามารถ upload เอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ใช้ในการลดหย่อนภาษีให้กับกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาตรวจคืนภาษีเพื่อลดความยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสารไว้รอการเรียกตรวจสอบในภายหลัง

                         ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิต สมาคมประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยเป็นอย่างดีในการผลักดันมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ นอกจากนี้ ในปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ กรมสรรพากร จะเชื่อมโยงข้อมูลกับ คปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาและเบี้ยประกันแบบบำนาญ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกและได้รับเงินคืนภาษีเร็วขึ้น

                        ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กล่าวว่า “สำนักงาน คปภ. ในฐานะเป็นหน่วยกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส น่าเชื่อถือ และคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วนและเป็นธรรมจาก การประกันภัย ได้ดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายของรัฐบาล นโยบายที่กาหนดโดยคณะกรรมการ คปภ. ภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2559-2563) โดยได้มีนโยบายมุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้าไปบริหารความเสี่ยงและเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของภาครัฐด้านสวัสดิสงเคราะห์ สร้างความมั่นคงทางสังคม ตลอดจนส่งเสริมระบบเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

                         ดังนั้น สำนักงาน คปภ. มีความมุ่งมั่นต่อการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัย ให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงและตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เอาประกันภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อต้องการให้ประชาชนมีการวางแผนการออมที่ดี รองรับความเสี่ยงทางด้านการเงินไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ หรือรายจ่ายเมื่อยามสูงอายุ โดยได้ผลักดันมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมและจูงใจให้เกิดการทำประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่ การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ การประกันชีวิตแบบบำนาญ และการประกันสุขภาพให้กับบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของคู่สมรสให้สามารถ นำเบี้ยประกันภัยดังกล่าวใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามจำนวนที่กาหนดไว้ เพื่อสนับสนุนการใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษีเงินได้จึงได้มีคำสั่งนายทะเบียนให้แก้ไขเพิ่มเติมแบบและข้อความใบคำขอเอาประกันภัย โดยเพิ่มเติมคำถามเกี่ยวกับการขอเอาประกันภัยเพื่อใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษีเงินได้ และการให้ความยินยอมในการส่งและเปิดเผยข้อมูลของผู้เอาประกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สาหรับประชาชนที่ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันสุขภาพ โดยไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐานการชำระเบี้ยประกันภัยประกอบการยื่นแบบขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

                         สำหรับในอนาคตสำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจประกันภัยจะร่วมกับกรมสรรพากรในการนำนวัตกรรมใหม่ มาพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีอยู่ในแต่ละหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาในการให้บริการประชาชนให้เกิดความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อนในการส่งข้อมูล และช่วยให้ การเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีความปลอดภัยและรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

                         ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center) และสายด่วน คปภ. 1186

 

กรมสรรพากร เต็มที่ เต็มใจ ให้ประชาชน

สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนปรชาสัมพันธ์

เลขที่ 90 ถนนพหลโยธิน 7 พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324

หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center)

โครงการ Depa Mini Transformation Voucher

รายละเอียดโครงการ Depa Mini Tranformation Voucher

โครงการนี้ได้มีเป้าหมาย.
  • การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ในองค์กร และอาจทำให้เกิด Business model ใหม่
  • การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน
  • การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล

วัตถุประสงค์
  • สนับสนุนให้ SMEs ไทยยกระดับการบริหารจัดการ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการในกระบวนการภายในของธุรกิจ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัลอย่างมีแบบแผน
ผลกระทบที่คาดหวัง
  • สร้างโอกาส และมูลค่าการตลาดให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัล
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่ม SMEs

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สนับสนุน

รูปแบบและเงื่อนไขการสนับสนุน

  • สนับสนุนรูปแบบเงินให้เปล่าสูงสุด จำนวนร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท
หมวดหมู่ค่าใช้จ่ายที่สนับสนุน
  • ค่าระบบ Software
  • ค่าเช่าใช้บริการระบบ อย่างน้อย 6 เดือน
  • ค่าอุปกรณ์ Hardware Smart Device สนับสนุน 50%
รูปแบบการสนับสนุน
  • เป็นลักษณะการเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง (Reimbursement) กล่าวคือผู้ได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจะต้องสำรองค่าใช้จ่ายในโครงการหรือการดำเนินงานล่วงหน้าไปก่อน แล้วจึงนำส่งหลักฐานใบเสร็จการชำระเงินมาเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลังกับสำนักงาน ฯ

กลุ่มธุรกิจ SMEs เป้าหมายหลัก
  1. ธุรกิจเกษตรและอาหาร เช่น โรงสี โรงงานแปรรูป เป็นต้น
  2. ธุรกิจร้านค้าบริการ เช่น ร้านอาหาร ธุรกิจบริการ เป็นต้น
  3. ธุรกิจร้านค้าปลีก-ค้าส่ง เช่น ร้านขายของชำ เป็นต้น
  4. ธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ที่พัก เช่ารถ ขนส่ง เป็นต้น

ขั้นตอนการขอรับการสนับสนุน

  1. ดาวน์โหลดใบสมัคร ที่นี่
  2. ซื้อซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีดิจิทัลกับผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนผ่าน depa หรือจากหน่วยร่วมดำเนินงาน
  3. SMEs เตรียมเอกสารใบสมัคร และเอกสารหลักฐานประกอบ พร้อมรับรองสำเนา
  4. เบิกค่าใช้จ่ายการสนับสนุนกับหน่วยร่วมดำเนินงาน
คุณสมบัติ SMEs
  • ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ และกิจการค้าส่งและค้าปลีก ลักษณะตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ.๒๕๔๓
หลักฐานเอกสารประกอบการขอรับการสนับสนุน
  • ใบสมัคร
  • สำเนาใบเสร็จ / ใบกำกับภาษี / หลักฐานการ ซื้อ-ขาย
  • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล / สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ / ทะเบียนทางการค้า
หมายเหตุ
  • พิเศษ… หากท่านซื้อ หรือเช่าใช้บริการกับผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียน TAX 200 กับทาง Depa ท่านสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ สามารถตรวจสอบรายชื่อ ผู้ประกอบการได้ ที่นี่