สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย มอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ต จำกัด

          เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(The Association of Thai Software Industry : ATSI) ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ต จำกัด เพื่อแสดงว่า บริษัท เกรซ ออฟ อาร์ต ได้พัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ไทย กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต

กรมสรรพากรจับมือกับสำนักงาน คปภ. เชื่อมโยงข้อมูลการลดหย่อนภาษีเพื่ออำนวยความสะดวก ให้ผู้ทำประกันสุขภาพ

                        วันนี้ (4 ตุลาคม 2561) ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เป็นประธาน การประชุมร่วมกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อประชาสัมพันธ์มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ณ ห้องพระอุเทน 1 ชั้น 2 อาคารกรมสรรพากร

                        ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “กรมสรรพากรมีนโยบายจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทำงานในทุกกระบวนการ (Digital Transformation) อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษี พร้อมไปกับ “การสร้างบริการที่ดีของกรมสรรพากรให้แก่ผู้เสียภาษี”ในการเชื่อมโยงข้อมูลการลดหย่อนภาษีจากหน่วยงานภายนอก เช่น ข้อมูลเงินปันผล ข้อมูลเงินบริจาค ข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพ เป็นต้น เพื่อลดภาระของผู้เสียภาษีในการจัดเก็บเอกสารหลักฐานการลดหย่อนภาษีและเป็นการยกระดับความร่วมมือของหน่วยงานภายนอกและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ และในระยะเปลี่ยนผ่าน กรมสรรพากรอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ตและมีภาษีที่ขอคืน สามารถ upload เอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ใช้ในการลดหย่อนภาษีให้กับกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาตรวจคืนภาษีเพื่อลดความยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสารไว้รอการเรียกตรวจสอบในภายหลัง

                         ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิต สมาคมประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยเป็นอย่างดีในการผลักดันมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ นอกจากนี้ ในปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ กรมสรรพากร จะเชื่อมโยงข้อมูลกับ คปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาและเบี้ยประกันแบบบำนาญ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกและได้รับเงินคืนภาษีเร็วขึ้น

                        ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กล่าวว่า “สำนักงาน คปภ. ในฐานะเป็นหน่วยกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส น่าเชื่อถือ และคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วนและเป็นธรรมจาก การประกันภัย ได้ดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายของรัฐบาล นโยบายที่กาหนดโดยคณะกรรมการ คปภ. ภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2559-2563) โดยได้มีนโยบายมุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้าไปบริหารความเสี่ยงและเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของภาครัฐด้านสวัสดิสงเคราะห์ สร้างความมั่นคงทางสังคม ตลอดจนส่งเสริมระบบเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

                         ดังนั้น สำนักงาน คปภ. มีความมุ่งมั่นต่อการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัย ให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงและตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เอาประกันภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อต้องการให้ประชาชนมีการวางแผนการออมที่ดี รองรับความเสี่ยงทางด้านการเงินไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ หรือรายจ่ายเมื่อยามสูงอายุ โดยได้ผลักดันมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมและจูงใจให้เกิดการทำประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่ การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ การประกันชีวิตแบบบำนาญ และการประกันสุขภาพให้กับบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของคู่สมรสให้สามารถ นำเบี้ยประกันภัยดังกล่าวใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามจำนวนที่กาหนดไว้ เพื่อสนับสนุนการใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษีเงินได้จึงได้มีคำสั่งนายทะเบียนให้แก้ไขเพิ่มเติมแบบและข้อความใบคำขอเอาประกันภัย โดยเพิ่มเติมคำถามเกี่ยวกับการขอเอาประกันภัยเพื่อใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษีเงินได้ และการให้ความยินยอมในการส่งและเปิดเผยข้อมูลของผู้เอาประกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สาหรับประชาชนที่ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันสุขภาพ โดยไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐานการชำระเบี้ยประกันภัยประกอบการยื่นแบบขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

                         สำหรับในอนาคตสำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจประกันภัยจะร่วมกับกรมสรรพากรในการนำนวัตกรรมใหม่ มาพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีอยู่ในแต่ละหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาในการให้บริการประชาชนให้เกิดความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อนในการส่งข้อมูล และช่วยให้ การเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีความปลอดภัยและรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

                         ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center) และสายด่วน คปภ. 1186

 

กรมสรรพากร เต็มที่ เต็มใจ ให้ประชาชน

สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนปรชาสัมพันธ์

เลขที่ 90 ถนนพหลโยธิน 7 พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324

หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center)

โครงการ Depa Mini Transformation Voucher

รายละเอียดโครงการ Depa Mini Tranformation Voucher

โครงการนี้ได้มีเป้าหมาย.
  • การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ในองค์กร และอาจทำให้เกิด Business model ใหม่
  • การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน
  • การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล

วัตถุประสงค์
  • สนับสนุนให้ SMEs ไทยยกระดับการบริหารจัดการ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการในกระบวนการภายในของธุรกิจ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัลอย่างมีแบบแผน
ผลกระทบที่คาดหวัง
  • สร้างโอกาส และมูลค่าการตลาดให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัล
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่ม SMEs

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สนับสนุน

รูปแบบและเงื่อนไขการสนับสนุน

  • สนับสนุนรูปแบบเงินให้เปล่าสูงสุด จำนวนร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท
หมวดหมู่ค่าใช้จ่ายที่สนับสนุน
  • ค่าระบบ Software
  • ค่าเช่าใช้บริการระบบ อย่างน้อย 6 เดือน
  • ค่าอุปกรณ์ Hardware Smart Device สนับสนุน 50%
รูปแบบการสนับสนุน
  • เป็นลักษณะการเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง (Reimbursement) กล่าวคือผู้ได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจะต้องสำรองค่าใช้จ่ายในโครงการหรือการดำเนินงานล่วงหน้าไปก่อน แล้วจึงนำส่งหลักฐานใบเสร็จการชำระเงินมาเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลังกับสำนักงาน ฯ

กลุ่มธุรกิจ SMEs เป้าหมายหลัก
  1. ธุรกิจเกษตรและอาหาร เช่น โรงสี โรงงานแปรรูป เป็นต้น
  2. ธุรกิจร้านค้าบริการ เช่น ร้านอาหาร ธุรกิจบริการ เป็นต้น
  3. ธุรกิจร้านค้าปลีก-ค้าส่ง เช่น ร้านขายของชำ เป็นต้น
  4. ธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ที่พัก เช่ารถ ขนส่ง เป็นต้น

ขั้นตอนการขอรับการสนับสนุน

  1. ดาวน์โหลดใบสมัคร ที่นี่
  2. ซื้อซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีดิจิทัลกับผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนผ่าน depa หรือจากหน่วยร่วมดำเนินงาน
  3. SMEs เตรียมเอกสารใบสมัคร และเอกสารหลักฐานประกอบ พร้อมรับรองสำเนา
  4. เบิกค่าใช้จ่ายการสนับสนุนกับหน่วยร่วมดำเนินงาน
คุณสมบัติ SMEs
  • ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ และกิจการค้าส่งและค้าปลีก ลักษณะตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ.๒๕๔๓
หลักฐานเอกสารประกอบการขอรับการสนับสนุน
  • ใบสมัคร
  • สำเนาใบเสร็จ / ใบกำกับภาษี / หลักฐานการ ซื้อ-ขาย
  • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล / สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ / ทะเบียนทางการค้า
หมายเหตุ
  • พิเศษ… หากท่านซื้อ หรือเช่าใช้บริการกับผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียน TAX 200 กับทาง Depa ท่านสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ สามารถตรวจสอบรายชื่อ ผู้ประกอบการได้ ที่นี่